Translate

Blog Archive

Home » » นักวิชาการชี้ โขน ประยุกต์จากอินเดีย แนะ ไทย-กัมพูชา ควรเปิดใจยอมรับ

นักวิชาการชี้ โขน ประยุกต์จากอินเดีย แนะ ไทย-กัมพูชา ควรเปิดใจยอมรับ


นักวิชาการแนะ ไทย-กัมพูชา ควรเปิดใจกว้างยอมรับว่า โขน เป็นวัฒนธรรมที่ต่างรับเอาของอินเดียมาประยุกต์ 

          หลังที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ได้เตรียมส่งรายชื่อโขน ให้ยูเนสโกขึ้นเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เนื่องจากโขนเป็นการแสดงที่มีความโดดเด่น ชัดเจนและแสดงถึงภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทยที่สมบูรณ์ ทำให้ชาวกัมพูชาบางส่วนไม่พอใจ ออกมาแชร์ภาพว่าการแสดงโขนไม่ใช่ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย แต่เป็นของประเทศกัมพูชาแต่เพียงผู้เดียว (อ่านข่าว ศึกมรดกโลก ! ออนไลน์เขมร ฮือประท้วงไทย ประกาศก้องโขนเป็นของกัมพูชา
 ล่าสุด วันที่ 6 มิถุนายน 2559 สำนักข่าว บีบีซี ไทย รายงานว่า นายอัครพงษ์ ค่ำคูณ นักวิชาการจากวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ ให้สัมภาษณ์กับทางบีบีซีไทย ถึงกรณีดังกล่าวว่า ถือเป็นการแสดงความไม่มีวุฒิภาวะของทั้งสองชาติ เพราะทั้งไทยและกัมพูชาล้วนรับเอาอิทธิพลดังกล่าวมาจากอินเดียและนำมาประยุกต์ให้เป็นการแสดงของตัวเองทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรเปิดใจกว้างและยอมรับว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สามารถถ่ายทอดสืบต่อกันได้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และตายได้ 

          นายอัครพงษ์ กล่าวต่อว่า ทั้งไทยและกัมพูชา เราต้องทำความเข้าใจว่าเรื่องวัฒนธรรมเป็นเรื่องการสร้างชาติ คนที่ออกมาตื่นเต้นหรือกล่าวหาคนอื่นว่าแย่งวัฒนธรรมของชาติตนเองไป ไม่ใช่คนที่รักชาติอย่างถูกวิธี คือคนที่ใช้ความเป็นชาติเพื่อไปทำลายชาติอื่น เป็นเรื่องของคนใจแคบ เห็นชาติตัวเองดีกว่าคนอื่น เป็นการยกตนข่มท่าน 

          ทั้งนี้เห็นว่าไทยยังควรจะจดทะเบียน โขน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ อยู่ต่อไป การจดทะเบียนจะช่วยแสดงให้เห็นถึงการมีวัฒนธรรมที่ดีของไทย และหาทางส่งเสริมคุณค่า และควรวางเฉยต่อท่าทีของกัมพูชา ซึ่งที่ผ่านมาได้นำเอาวัฒนธรรมร่วมหลายอย่างไปจดทะเบียน อาทิ หนังใหญ่ และการแสดงโขนในแบบของกัมพูชาที่เรียกว่าละโคนพระกรุณา เป็นต้น 
ภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก I Love Khmer True Story
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก BBCThai

0 comments:

Post a Comment